เหตุการณ์สำคัญ

รายการสำคัญที่ผ่านมา

 การพัฒนาของสเปเชียลโอลิมปิคแห่งประเทศไทยสู่ความเป็นสากล มีเหตุการณ์สำคัญ ดังต่อไปนี้

พ.ศ. 2511 (คศ. 1968)

  • ก่อตั้ง Special Olympics International ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ชี สหรัฐอเมริกา โดย EUNICE KENNEDY SHRIVER

  • เริ่มจัดการแข่งขันกีฬาสเปเชียลโอลิมปิคครั้งแรก

 

พ.ศ.2530

  • จัดตั้งองค์กรสเปเชียลโอลิมปิคประเทศไทย ภายใต้การดูแลของมูลนิธิช่วยคนปัญญาอ่อนแห่งประเทศไทย

  • ส่งนักกีฬาไทย 4 คน เข้าร่วม 1987 Special Olympics World Summer Game ที่รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา

พ.ศ.2531

  • คุณหญิงโสภร วงศ์สวรรค์ เป็นประธานคณะกรรมการสเปเชียลโอลิมปิคแห่งประเทศไทย

 

พ.ศ. 2534

  • จดทะเบียนกับการกีฬาแห่งประเทศไทย ในฐานะสมาคม

  • คุณหญิงวิจันทรา บุนนาคเป็นประธานคณะกรรมการสเปเชียลโอลิมปิคแห่งประเทศไทย

  • จัดการแข่งขันกีฬาสเปเชียลโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ณ สนามกีฬาหัวหมาก การกีฬาแห่งประเทศไทย โดยได้รับพระกรุณาธิคุณจากพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาธินัดดามาตุ ทรงประทานไฟพระฤกษ์สำหรับใช้ในการแข่งกีฬาแห่งชาติเป็นครั้งแรก ซึ่งมีนายกรัฐมนตรี นายอานันท์ ปันยารชุน ให้เกียรติเป็นประธาน พิธีเปิดการแข่งขัน

  • ส่งนักกีฬาไทย 13 คน เข้าร่วม 1991 Special Olympics World Summer Gamesที่ รัฐมินิโซต้า สหรัฐอเมริกา

 

พ.ศ. 2535

  • จัดการแข่งขันกีฬาสเปเชียลโอลิมปิคแห่งประเทศไทยซึ่งมีนายกรัฐมนตรี นายชวน หลีกภัยให้เกียรติเป็นประธานพิธีเปิดการแข่งขัน

 

 พ.ศ. 2536

  • ท่านผู้หญิงนิรมล สุริยสัตย์ เป็นประธานคณะกรรมการสเปเชียลโอลิมปิคประเทศไทย

 

 พ.ศ. 2537

  • จัดการแข่งขันกีฬาสเปเชียลโอลิมปิคประเทศไทย โดยได้รับพระกรุณาธิคุณจาก พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เป็นประธานพิธีเปิดการแข่งขันฯ

  • ส่งนักกีฬาไทย 12 คน เข้าการแข่งขันประจำปีที่เมืองเพิร์ธ ประเทศออสเตรเลีย

  • ส่งนักกีฬาเข้าแข่งขันประจำปีที่ประเทศฮ่องกง

 พ.ศ. 2538

  • ท่านผู้หญิงนิรมล สุริยสัตย์ ได้รับเชิญเป็นกรรมการในคณะกรรมการอำนวยการของ Special Olympics International

  • เปิดศูนย์ภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่

  • ส่งนักกีฬาไทย 24 คน เข้าการแข่งขัน 1995 Special Olympics World Summer Games ที่รัฐคอนเนคติกัต สหรัฐอเมริกา

 พ.ศ. 2539

  • เปิดศูนย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดขอนแก่น

  • จัดการแข่งขันกอล์ฟการกุศลหาทุนให้กับสเปเชียลโอลิมปิคประเทศไทย ร่วมกับหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์

พ.ศ. 2540

  • เปิดศูนย์ภาคใต้ที่จังหวัดสงขลา

  • จัดการแข่งขันแรลลี่การกุศลหาทุนให้กับสเปเชียลโอลิมปิคประเทศไทย

  • ส่งนักกีฬาไทย 14 คน เข้าแข่งขัน 1st Special Olympics Asia Pacific Games ที่เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน

 

พ.ศ. 2541

  • เปิดศูนย์ภาคกลางที่จังหวัดปทุมธานี

  • จัดการแข่งขันเดิน-วิ่งการกุศลหาทุนให้กับสเปเชียลโอลิมปิคประเทศไทย โดยได้รับพระกรุณาธิคุณจาก พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เป็นประธานพิธีเปิดการแข่งขัน

  • ส่งนักกีฬาเข้าแข่งขันในกีฬาประจำปีของประเทศสิงคโปร์

 พ.ศ. 2542

  • จัดการแข่งขันฟุตบอลดาราเพื่อสเปเชียลโอลิมปิคประเทศไทย ชิงถ้วยประทาน พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาธินัดดามาตุ ครั้งที่ 1 ณ สนามกีฬามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต

 

พ.ศ. 2543

  • รศ.ดร.นริศ ชัยสูตร เป็นประธานคณะกรรมการสเปเชียลโอลิมปิคประเทศไทย

  • จัดการแข่งขันฟุตบอลดาราเพื่อสเปเชียลโอลิมปิคไทย ชิงถ้วยประทาน พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาธินัดดามาตุ ครั้งที่ 2 ณ สนามกีฬาเทศบาลเมือง จังหวัดนครราชสีมา

พ.ศ. 2544

  • จัดค่ายฝึกนักกีฬาประจำภูมิภาคที่ สงขลา เชียงใหม่ และขอนแก่น

  • จัดการแข่งขันกอล์ฟการกุศลเพื่อสเปเชียลโอลิมปิคประเทศไทย ชิงถ้วยอดีตนายกรัฐมนตรี นายอานันท์ ปันยารชุน ครั้งที่ 1 จังหวัดระยอง

พ.ศ. 2545

  • ส่งนักกีฬาไทย 10 คน เข้าร่วมการแข่งขัน 3rd Special Olympics Nippon Games ประเทศญี่ปุ่น

  • จัดการคัดเลือกนักกีฬาประจำภาคเหนือ ใต้ ตะวันออกเฉียงเหนือ และกลาง เพื่อเข้าแข่งขันกีฬา World Summer Games ในปี 2545

 

พ.ศ. 2546

  • ส่งนักกีฬาไทย 23 คน เข้าร่วมการแข่งขัน 2003 Special Olympics World Summer Games นครดับลิน ประเทศไอร์แลนด์

 

พ.ศ. 2547

  • ริเริ่มโครงการผู้นำนักกีฬา และครอบครัวพิเศษ (ALP & FSN) เข้าสู่ประเทศไทย

  • นำกีฬาบอชชี่เข้าสู่ประเทศไทยเป็นครั้งแรก

พ.ศ. 2548

  • ส่งนักกีฬาไทย 7 คน เข้าร่วมการแข่งขันSpecial Olympics East Asia and Asia Pacific Bocce Competition ประเทศบรูไน

  • ส่งนักกีฬาไทย 20 คน เข้าร่วมการแข่งขัน Special Olympics Asia Pacific Invitational Games ประเทศนิวซีแลนด์

  • เปิดโครงการนักกีฬาสุขภาพดี (Healthy Athletes Program) เป็นครั้งแรก โดย ดร. ดนัย ตันเกิดมงคล ผู้อำนวยการโครงการฯ

  • จัดการอบรมผู้ฝึกสอนกีฬายูนิฟายด์ (Unified Sports) ในโครงการ Rebuilding Hope Phuket ณ จังหวัดภูเก็ต เป็นครั้งแรก

พ.ศ. 2549

  • จัดการแข่งขันกีฬา Unified Sports จังหวัดภูเก็ต อย่างเป็นทางการ

  • เผยแพร่กีฬาเทนนิสให้กับนักกีฬาพิเศษ

  • จัดการแข่งขันกีฬาบอชชี่ (Single Sport) ชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 1 จังหวัดอุดรธานี

  • ขยายสาขาในโครงการนักกีฬาสุขภาพดี โดยเพิ่ม สาขา Special Smile สาขา Fit Feet

พ.ศ. 2550

  • ส่งนักกีฬาไทย 42 คน เข้าร่วมการแข่งขัน 2007 Special Olympics World Summer Games ณ เมืองเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน

 

พ.ศ.2552

  • การแข่งขันฟุตบอลสเปเชียลโอลิมปิคอินโดจีน ครั้งที่ 1 ประจำปี 2552  ระหว่างวันที่  11-12 กุมภาพันธ์ 2552    2556 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต  จังหวัดปทุมธานี

 

พ.ศ.2554

  • ส่งนักกีฬาไทย 32 คน เข้าร่วมการแข่งขัน 2011 Special Olympics World Summer Gams   ระหว่างวันที่ 19 มิถุนายน – 5 กรกฎาคม 2554 ณ กรุงเอเธนส์  ประเทศกรีซ

  • การแข่งขันฟุตบอลสเปเชียลโอลิมปิคอินโดจีน ครั้งที่ 2 ประจำปี 2554 ระหว่างวันที่  18-21  พฤศจิกายน 2554   ณ  กรุงพนมเปญ  ประเทศกัมพูชา

     พ.ศ.2555

  • ส่งนักกีฬา 16 คน การเข้าร่วมการแข่งขัน 1st ASEAN Unified Football Tournament 2012 ระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม – 3 กันยายน  2555  ณ ประเทศสิงคโปร์

  • ส่งนักกีฬา 16 คน การแข่งขัน Special Olympics Asia Pacific Bocce Competition 2012 วันที่ 25-30 พฤศจิกายน 2555  ณ กรุงบันดาเสรีเบกาวัน ประเทศบรูไน

     พ.ศ.2556

  • ส่งนักกีฬา 2 คน เข้าร่วมการแข่งขัน 2013 Special Olympics World Winter Games ระหว่างวันที่ 27 มกราคม – 6 กุมภาพันธ์ 2556 ณ ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี

  • การแข่งขัน Asia Pacific Qualifier of 2014 Global Unified Cup ระหว่างวันที่ 16-20 มิถุนายน 2556 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต  จังหวัดปทุมธานี

  • ส่งนักกีฬา 16 คน เข้าร่วมการแข่งขัน 2nd  ASEAN 5-A-Side Unified Football Tournament 2013 ระหว่างวันที่ 6-11 พฤศจิกายน 2556   ณ เมืองเคดาร์  ประเทศมาเลเซีย

  • ส่งนักกีฬา 10 คน เข้าร่วมการแข่งขัน 3rd  Meakong 5-a-side Football Tournament 2013 ระหว่างวันที่  16-19  พฤศจิกายน 2556   ณ  เมืองย่างกุ้ง  ประเทศพม่า

  • ส่งนักกีฬา 60  คน การแข่งขัน 2013 Special Olympics Asia Pacific Games ระหว่างวันที่ 28 พฤศจิกายน – 8 ธันวาคม 2556 ณ เมืองนิวคาสเซิล  ประเทศออสเตรเลีย

พ.ศ.2557

  • ส่งนักกีฬา 10 คน เข้าร่วมการแข่งขัน 3rd South East Asia Unified 5-a-side Football Tournament ระหว่างวันที่ 1-6 พฤศจิกายน 2557  ณ ประเทศบรูไน

  • ส่งนักกีฬา 10 คน เข้าร่วมการแข่งขัน 4th Special Olympics  Meakong  Football Tournament ระหว่างวันที่ 5-8 ธันวาคม 2557 ณ เมืองโฮจิมินห์  ประเทศเวียดนาม

พ.ศ.2558

  • ส่งนักกีฬา 10 คน เข้าร่วมการแข่งขัน 3rd South East Asia Unified 5-a-side Women’s Football Tournament  ระหว่างวันที่ 13-16 มีนาคม 2558  ณ เมืองกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

  • ส่งนักกีฬา 32 คน เข้าร่วมการการแข่งขัน 2015 Special Olympics World Summer Gams ระหว่างวันที่ 21 กรกฎาคม – 3 สิงหาคม 2558  ณ ลอสแองเจลลิส  ประเทศสหรัฐอเมริกา

  • ส่งนักกีฬา 10 คน การแข่งขัน  5th Special Olympics  Meakong  Football Tournament ระหว่างวันที่ 12-15 ตุลาคม 2558 ณ สนามกีฬาเมนสเตเดี้ยม ศูนย์กีฬามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต จังหวัดปทุมธานี

  • ส่งนักกีฬา 18 คน เข้าร่วมการแข่งขัน  4th South East Asia Unified 5-a-side  Football Tournament  ระหว่างวันที่ 10-14  ธันวาคม 2558   ณ เมืองเซมารัง ประเทศอินโดนีเซีย

พ.ศ.2559

  • ส่งนักกีฬา 16 คน เข้าร่วมการการแข่งขัน 5th South East Asia Unified 5-a-side Football Tournament  ระหว่างวันที่ 16-20 พฤศจิกายน 2559  ณ เมืองมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์

  • ส่งนักกีฬา 10 คน เข้าร่วมการแข่งขัน 6th Special Olympics  Meakong  Football Tournament ระหว่างวันที่ 27-30 พฤศจิกายน 2559 ณ ประเทศกัมพูชา

  • ส่งนักกีฬา 16 คน เข้าร่วมการแข่งขัน Special Olympic Inter-Regional Unified 11-a-side Football Tournament ระหว่างวันที่ 1-5  ธันวาคม 2559   ณ เมืองบูบาเนสวา รัฐโอดิวา  ประเทศอินเดีย

 

พ.ศ.2560

  • ส่งนักกีฬา 12 คน เข้าร่วมการแข่งขัน Special Olympics National Games Invitation ระหว่างวันที่ 19-22 พฤษภาคม 2560  ณ ประเทศสิงคโปร์

  • ส่งนักกีฬา 32 คน เข้าร่วมการแข่งขัน 6th South East Asia Unified 5-a-side Football Tournament ระหว่างวันที่ 13-17 พฤศจิกายน 2560  ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต  จังหวัดปทุมธานี

  • ส่งนักกีฬา 10 คน เข้าร่วมการแข่งขัน 7th Special Olympics  Meakong 5-a-side Football Tournament  ระหว่างวันที่ 17-20 พฤศจิกายน 2559 ณ กรุงย่างกุ้ง  ประเทศเมียนมาร์

พ.ศ.2561

  • คณะกรรมการสเปเชียลโอลิมปิคแห่งประเทศไทย จดทะเบียนเปลี่ยนเป็นสมาคมกีฬาสเปเชียลโอลิมปิคแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2561

  • การแข่งขันมหกรรมกีฬาสเปเชียลโอลิมปิคชิงแชมป์ประเทศไทย วันที่ 16-19 กรกฎาคม 2562  ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต  จังหวัดปทุมธานี

  • ส่งนักกีฬา 18 คน เข้าร่วมการแข่งขัน 7th South East Asia Unified 5-a-side Football Tournament ระหว่างวันที่ 4-8 ธันวาคม 2561  ณ  กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

  • ส่งนักกีฬา 10 คน เข้าร่วมการแข่งขัน 8th Special Olympics  Meakong 5-a-side Football Tournament  ระหว่างวันที่ 16-19 พฤศจิกายน 2559 ณ กรุงโฮจิมินห์ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

 

พ.ศ.2562

  • ส่งนักกีฬา 45 คน เข้าร่วมการการแข่งขัน 2019 Special Olympics World Summer Gams ระหว่างวันที่ 8-23 มีนาคม 2562  ณ กรุงอาบูดาบี  สาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์

  • จัดแข่งขันกีฬา 1st Special Olympics Asia Pacific Unified Badminton Championship ระหว่างวันที่ 11-16 พฤศจิกายน 2562 ณ อินดอร์สเตเดี้ยม หัวหมาก กรุงเทพฯ

  • ส่งนักกีฬา 16 คน เข้าร่วมการแข่งขัน 8th Special Olympics Southeast Asia Unified Football Tournament ระหว่างวันที่ 6-10 ธันวาคม 2562 ณ ประเทศสิงคโปร์

  • ส่งนักกีฬา 8 คน เข้าร่วมการแข่งขัน 9th Maeking 5-a-side Football Competition ระหว่างวันที่ 27-28 พฤศจิกายน 2562 ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

  • การแข่งขันมหกรรมกีฬาสเปเชียลโอลิมปิคชิงแชมป์ประเทศไทย วันที่ 1-3-17 สิงหาคม 2562  ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต  จังหวัดปทุมธานี

พ.ศ.2563

  • การแข่งขันสเปเชียลโอลิมปิคไทยแบบเวอร์ชัวร์  ระหว่างเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2563 

 

พ.ศ. 2564

  • การแข่งขันสเปเชียลโอลิมปิคไทยแบบเวอร์ชัวร์  ระหว่างเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2564 

 

พ.ศ.2565

  • การจัดการแข่งขัน The 9th Special Olympics Southeast Asia Unified Football Tournament 2022  ระหว่างวันที่ 12-16 พฤศจิกายน 2565 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ

  • การลงนาม MOU ระหว่างสมาคมกีฬาสเปเชียลโอลิมปิคแห่งประเทศไทย กับ สมาคมกีฬาแบดมินตันแห่งประเทศไทยในพระบรมราขูปถัมภ์

  • การแข่งขันมหกรรมกีฬาสเปเชียลโอลิมปิคชิงแชมป์ประเทศไทย และการคัดเลือกนักกีฬาตัวแทนประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมการแข่งขัน Special Olympics World Games 2023  ระหว่างวันที่ 18-22 กรกฎาคม 2564  ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต  จังหวัดปทุมธานี

  • การจัด Football Charity Match for Special Olympics Thailand ระหว่างทีมเมืองทองยูไนเต็ด กับทีมทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด  วันที่ 30 กรกฎาคม 2565 ณ ธันเดอร์โดม เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี

พ.ศ.2566

  • ส่งนักกีฬา จำนวน 35 คน จาก 6 ชนิดกีฬา(กรีฑา, ว่ายน้ำ, บอชชี่, แบดมินตัน, เทเบิลเทนนิส และฟุตบอล) เข้าร่วมการแข่งขัน Special Olympics Word Games 2023  ระหว่างวันที่ 12-26 มิถุนายน 2566 ณ กรุงเบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

  • การแข่งขันมหกรรมกีฬาสเปเชียลโอลิมปิคชิงแชมป์ประเทศไทย  ระหว่างวันที่ 21-24 สิงหาคม 2566  ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต  จังหวัดปทุมธานี

  • การแสดง “Smiling Hearts” Charity Concert for Special Olympics ร่วมกับ สถาบัน Katyusha Dance Academy วันพฤหัสบดีที่ 23 มีนาคม 2566 ณ Main Hall ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ

  • Football Charity Match for Special Olympics Thailand ระหว่างทีมเมืองทองยูไนเต็ด กับทีมทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด วันที่ 29 กรกฎาคม 2566 ณ ธันเดอร์โดม เมืองทองธานี จ.นนทบุรี

  •  “นิทรรศการศิลปะการกุศล เพื่อ สเปเชียลโอลิมปิคไทย โดย จิตรกรฮ่องกง” ( Charity Art for Special Olympics Thailand by Hong Kong Artists ) ระหว่างวันที่ 26-29 ตุลาคม 2566 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

พ.ศ.2567

  • การแข่งขันมหกรรมกีฬาสเปเชียลโอลิมปิคไทยชิงแชมป์ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 15-19 กรกฎาคม 2567 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต จังหวัดปทุมธานี

  • การแสดง “Smiling Hearts” Charity Concert for Special Olympics ร่วมกับ สถาบัน Katyusha Dance Academy วันอาทิตย์ ที่ 26 พฤษภาคม 2567 ณ Main Hall ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ

  • Football Charity Match for Special Olympics Thailand ระหว่างทีมเมืองทองยูไนเต็ด กับ ทีมสวาทแคท นครราชสีมา มาสด้า วันที่ 29 กรกฎาคม 2567 ณ ธันเดอร์โดม เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี

  • การเริ่มโครงการครอบครัวนักกีฬาสเปเชียลโอลิมปิคไทย

นักกีฬาผู้นำ

โครงการผู้นำนักกีฬาสเปเชียลโอลิมปิคไทย

              โครงการผู้นำนักกีฬาสเปเชียลโอลิมปิคไทย เป็นโครงการที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพ คุณค่า และความสามารถของนักกีฬาสเปเชียลโอลิมปิค  ซึ่งหลังจากประสบความสำเร็จด้านการกีฬาแล้ว นักกีฬาหลายคนมีความสามารถที่จะฝึกฝนทักษะในระดับสูงขึ้นสู่การเป็นผู้นำนักกีฬาสเปเชียลโอลิมปิค

              โครงการผู้นำนักกีฬาสเปเชียลโอลิมปิคไทย เป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้นักกีฬาได้รู้จักคิด รู้จักทำ มีความมั่นใจในการแสดงความคิดเห็น และรับผิดชอบแทนเพื่อน ๆ นักกีฬา  ตลอดจนได้ทำงานเป็นอาสาสมัครในกิจกรรมต่างๆ อาทิเช่น เป็นผู้ช่วยผู้ฝึกสอนกีฬา  เป็นกรรมการจัดงาน / การแข่งขัน  เป็นนักพูดในที่สาธารณะ  เป็นผู้แนะนำนักกีฬาพิเศษในเรื่องการดูแลสุขภาพ เป็นผู้สำรวจความต้องการของนักกีฬาพิเศษฯ เป็นต้น

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อส่งเสริมทักษะความสามารถที่หลากหลายให้กับนักกีฬาผู้พิการทางสมองและปัญญา
  2. เพื่อเปิดโอกาสให้นักกีฬาพิเศษของไทยได้เรียนรู้ และปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ
  3. เพื่อพัฒนาและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับผู้บริหารโครงการผู้นำนักกีฬาในประเทศต่างๆของภาคพื้นเอเซียแปซิฟิค
  4. เพื่อเปิดโอกาสให้สถาบันการศึกษาและนักศึกษาของไทยได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมความรู้ความสามารถของบุคคลที่พิการทางสมองและปัญญาของไทย
  5. เพื่อสร้างการยอมรับ คุณค่าของผู้พิการทางสมองและปัญญาในสังคมไทย และเปิดโอกาสให้บุคคลผู้พิการกลุ่มนี้ได้รับโอกาสในการประกอบอาชีพในอนาคต

วิชาในการอบรมผู้นำนักกีฬา (โดยสังเขป)

  • Global Messenger Training การฝึกพูดในที่สาธารณชน

เพื่อให้นักกีฬาแสดงความสามารถในการแนะนำตัว และบรรยายเกี่ยวกับโครงการสเปเชียลโอลิมปิค

  • Governance Training การทำงานร่วมกับคณะกรรมการในการบริหารจัดการ

เป็นการเตรียมนักกีฬา ให้เข้าใจเกี่ยวกับนโยบายของสเปเชียลโอลิมปิคด้วยการใช้แบบฝึกการแสดงความคิดเห็นเป็นรายบุคคล และเป็นกลุ่ม ประกอบกับการใช้ทักษะในการฟังและการแสดงความคิดเห็น เพื่อปูพื้นฐานของนักกีฬาในการทำงานร่วมกับคณะกรรมการกลุ่มต่าง ๆ

  • IT Training การใช้เทคโนโลยีข้อมูล

นักกีฬาได้เรียนรู้ทักษะคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน การตั้งชื่อในการใช้อีเมล์ การหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต และการใช้    Power Point ในการนำเสนอผลงาน

  • ALPs as Health Advocate การดูแลสุขภาพร่างกาย

นักกีฬาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ เพื่อสามารถแนะนำการใช้ชีวิตประจำวัน โภชนาการ การห่างไกลจากอบายมุขและสิ่งเสพติด  การป้องกันโรคภัยไข้เจ็บให้กับเพื่อน ๆ นักกีฬา

  • ALPs as Volunteers การทำงานเป็นอาสาสมัคร

นักกีฬาเรียนรู้วิธีปฏิบัติงานในหน้าที่ต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับความสามารถของตน และเข้าใจบทบาท             ความรับผิดชอบของการเป็นอาสาสมัคร

  • ALP Assistance Coach การทำงานเป็นผู้ช่วยโค้ช

ผู้ที่เคยเป็นนักกีฬามาก่อน และมีทักษะกีฬาที่ดี สามาถเรียนรู้การเป็นผู้ช่วยผู้ฝึกสอนกีฬา  โดยอบรมเกี่ยวกับทักษะในการอบอุ่นร่างกาย  ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ  การเก็บรักษาอุปกรณ์ และการดูแลสุขภาพนักกีฬาระหว่างการฝึกซ้อมกับแข่งขัน

สเปเชียลโอลิมปิคไทย

เกี่ยวกับ สเปเชียลโอลิมปิคไทย

สเปเชียลโอลิมปิคไทย  ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2530 โดยประธานของสเปเชียลโอลิมปิคสากล (Hon. Sargent  Shriver) มอบหมายให้ Mrs.Virginia P. Kirkwood ในฐานะ Consultant on Asia Development   ของสเปเชียลโอลิมปิคสากล เป็นตัวแทนมาติดต่อกับองค์กรและบุคคลที่ทำงานเกี่ยวกับบุคคลพิการทางสมองปัญญา

 

หลังจากนั้น มูลนิธิช่วยคนปัญญาอ่อนแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ได้รับเป็นศูนย์ประสานงานและรับผิดชอบจัดตั้งคณะกรรมการ(ชั่วคราว)  เพื่อดำเนินการจัดส่งนักกีฬาไทย จำนวน 4 คน เข้าร่วมการแข่งขัน 1987 Special Olympics World Summer Games ที่มลรัฐอินเดียนา สหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรก โดยมีคุณหญิงโสภร วงศ์สวรรค์   ดำรงตำแหน่งประธานในคณะกรรมการชุดแรก

สเปเชียลโอลิมปิคไทย ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลกับการกีฬาแห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ.2534 ในนาม “คณะกรรมการสเปเชียลโอลิมปิคแห่งประเทศไทย”  โดย คุณหญิงวิจันทรา  บุนนาค   ดำรงตำแหน่งประธาน ในคณะกรรมการฯ ชุดนี้

ต่อมาท่านผู้หญิงนิรมล สุริยสัตย์ ได้รับเลือกเป็นประธานในปี พ.ศ.2536-2543 และในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2538 ได้รับเชิญให้เป็นกรรมการในคณะกรรมการสเปเชียลโอลิมปิคสากล (Special Olympics International)

ในปี  2543  ดร.นริศ  ชัยสูตร ได้รับเลือกเป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการ และดำรงตำแหน่งมาจนถึงทุกวันนี้

คณะกรรมการสเปเชียลโอลิมปิคแห่งประเทศไทย  ได้รับพระกรุณาธิคุณจาก พระเจ้าวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ  ทรงประทานไฟพระฤกษ์ในการแข่งขันกีฬาสเปเชียลโอลิมปิคแห่งชาติทุกครั้ง ตั้งแต่ครั้งแรกที่จัดการแข่งขันในปี 2532 และ ทรงเสด็จเปิดการแข่งขันกีฬาสเปเชียลโอลิมปิคแห่งชาติ ในปี 2549 และ 2551   ในปี พ.ศ.2539  พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ทรงเสด็จเปิดการแข่งขันสเปเชียลโอลิมปิคแห่งชาติ  ซึ่งที่ผ่านมาได้มี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย และ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ  เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขัน

ประเทศไทยได้ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน  Special Olympics World Summer Games ซึ่งเป็นการแข่งขันกีฬาระดับโลก รวมทั้งสิ้น 8 ครั้ง (1987, 1991, 1995, 2003, 2007, 2011 2015 และ 2019)  ในปี 2013 ประเทศไทยได้รับเชิญส่งนักกีฬาไปร่วมการแข่งขัน World Winter Games และ เข้าร่วมการแข่งขัน 1st Asia Pacific Regional Games เป็นครั้งแรก

ต่อมา คณะกรรมการสเปเชียลโอลิมปิคแห่งประเทศไทยได้จดทะเบียนสมาคมกีฬาภายใต้ พ.ร.บ. การกีฬา พ.ศ.2558   กับ การกีฬาแห่งประเทศไทย ในนาม “สมาคมกีฬาสเปเชียลโอลิมปิคแห่งประเทศไทย” เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2561 

ปัจจุบัน สเปเชียลโอลิมปิคไทย  จัดกิจกรรมหลากหลายโครงการตลอดทั้งปี อาทิ การจัดค่ายฝึกซ้อมกีฬา  การแข่งขันกีฬาระดับต่างๆ  การกิจกรรมทักษะกลไกสำหรับผู้พิการมาก  การส่งทีมนักกีฬาเข้าแข่งขันในต่างประเทศ  การอบรมครูผู้ฝึกสอนกีฬา  การจัดแพทย์อาสาสมัครเพื่อตรวจสุขภาพนักกีฬา และการส่งเสริมการพัฒนาเด็กเล็กวัยแรกเริ่ม  โดยมีนักกีฬาที่พิการทางสติปัญญาเข้าร่วมโครงการกว่า 20,000 คน  จากทั่วประเทศไทย

สเปเชียลโอลิมปิค

เกี่ยวกับ สเปเชียลโอลิมปิค

 สเปเชียลโอลิมปิค เป็นโครงการนานาชาติ ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและการยอมรับของสังคมของเกี่ยวกับผู้พิการทางสติปัญญา โดยใช้กีฬาเป็นครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลเหล่านี้ สเปเชียลโอลิมปิคสร้างโอกาส ให้บุคคล “พิเศษ” เหล่านี้ ได้พัฒนาสุขภาพ ความสามารถในการเรียนรู้ การสื่อสาร และการเข้าสังคม  ตลอดจนสร้างการยอมรับพวกเขาในชุมชนด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย มีเป้าหมายในการส่งเสริมให้ผู้พิการทางสติปัญญาสามารถอยู่ในชุมชนอย่างมีคุณค่า และศักดิ์ศรี เพื่อให้สังคมมีการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
ริเริ่มและก่อตั้งโดย นางยูนิส เคเนคเดี้ ไชร์เวอร์ ในปี คศ.1968 ปัจจุบันมีพิการทางปัญญากว่าห้าล้านคน ใน 180 ประเทศทั่วโลก ที่ได้รับโอกาสเป็นนักกีฬาสเปเชียลโอลิมปิค ภายใต้การดูแลของผู้ฝึกสอนและอาสามัครกวว่าหนึ่งล้านคน โดยสามารถเลือกเล่น  32 ชนิดกีฬาสากล ในรายการแข่งขันระดับต่างๆตลอดทั้งปี
สเปเชียลโอลิมปิค ครบรอบ 50 ปี ของการดำเนินงาน ในปี  คศ 2018 โดยมุ่งมั่นที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้พิการทางสติปัญญาสืบต่อไป
www.specialolympics.org.

พันธกิจ

พันธกิจ

พันธกิจของสเปเชียลโอลิมปิค  คือ จัดให้มีการเรียนรู้   ฝึกซ้อมทางการกีฬาและจัดการแข่งขันกีฬาชนิดต่าง ๆ ตลอดปี  ในลักษณะของกีฬาโอลิมปิค สำหรับผู้พิการทางสติปัญญาที่มีอายุสองปีขึ้นไป    ส่งเสริมพวกเขาให้มีโอกาสในการพัฒนาสมรรถภาพทางร่างกายอย่างต่อเนื่อง ได้แสดงออกถึงความกล้า และความมั่นใจ เกิดความรู้สึกยินดี และ เป็นมิตร มีส่วนร่วมในการสร้างความผูกพันธ์กับครอบครัว  นักกีฬาสเปเชียลโอลิมปิค และชุมชน

ยุวชนจิตอาสา

     

 

         สวัสดีคะ ดิฉันชื่อ นาวสาวอารียา  สูงห้างหว้า  ชื่อเล่น ฟักแฟง  อายุ 21 ปี กำลังศึกษาอยู่ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 สาขาการศึกษาพิเศษและคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

          ดิฉันเป็นของบุคคลหนึ่ง ที่ตั้งแต่เกิดไม่เคยได้ยินเสียงใดๆเหมือนใครคนอื่น ดิฉันเป็นคนหูหนวกคะแต่ความพิการนั้นไม่เคยทำให้ดิฉันท้อแท้กับโชคชะตาชีวิตของตัวเอง แม้บางครั้งมันอาจมีข้อจำกัดบ้างมีความยากและลำบากบ้าง แต่ดิฉันก็มีความสุขกับชีวิตที่เป็นอยู่ และได้ใช้ชีวิตเฉกเช่นคนปกติในสังคม ต้องขอบคุณ คุณพ่อคุณแม่ ที่คอยดูแลเอาใจใส่จัดหาสถานศึกษาดีๆให้ดิฉันจบมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนโสตสุรินทร์ค่ะ และได้เลือกที่จะศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา โดยในตอนนั้นมหาวิทยาลัยที่ ดิฉันมองไว้ มี 2 ที่ คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี กับโคราชคะ แต่ตัดสินใจเลือกจริง ๆคือมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี พระท่านอาจารย์ที่นี่บอกว่า ราชภัฏอุบลฯ เรา มีทุนเรียนฟรีให้สำหรับเด็กพิเศษ ต้องขอบคุณท่านอาจารย์ทุกท่านที่ได้ให้โอกาสดีๆกับดิฉันคะ

ด้วยเพราะความเป็นคนหูหนวก ทำให้ไม่ได้ยินอะไรเลย ตัวดิฉันเองจึงต้องพยายามมากกว่าคนปกติ ต้องหาวิธีการและเทคนิคต่างๆที่จะทำให้ตัวเองเข้าใจและจดจำเนื้อหาที่เรียนได้ ถ้าถามว่ายากไหมก็ยากพอตัวค่ะแต่ก็ไม่เกินความสามารถถ้าเราตั้งใจที่จะทำมันจริงๆ และอีกหนึ่งกำลังใจที่สำคัญที่ทำให้ดิฉันมีกำลังใจในการสู้ต่อคือคุณพ่อคุณแม่ที่ดิฉันรักมากที่สุด ทุกครั้งที่นึก ถึง ว่าท่านรอดูความสำเร็จของดิฉันอยู่ มันก็ทำให้ดิฉันมีกำลังใจฮึดสู้ก้าวข้ามความเหนื่อยล้าและทำให้ดิฉันอดทนสู้ต่อไปได้ ขอบคุณคะ

พอมีโครงการอบรม Youth Activation หนูเลยตัดสินใจเข้าอบรมเพื่อจะได้สร้างโอกาสให้เด็กพิเศษได้มีโอกาศเหมือนพวกหนู การอบรมครั้งนี้ทำให้ได้มีความรู้เกี่ยวกับพิการทางสติปัญญามากขึ้นว่าไม่ควรดูถูกเขา แล้วถ้ามีกิจกรรมต่าง ๆเกี่ยวกับ Youth หนูก็จะเข้าอบรมช่วยกิจกรรมต่าง ๆเพราะได้ความรู้และได้ทำประโยชน์ให้สังคมด้วย

นายไชยวัฒน์ เต็มตาวงศ์ ชื่อเล่นอาร์ม

นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาดนตรีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

     

 

ผมทำงานร้องเพลงตามร้านอาหารเพื่อหาเงินเรียนด้วยตัวเอง ซึ่งเจอผู้ฟังหลายๆประเภท ไม่เคยกลัวที่จะขึ้นเวทีเพื่อทำการแสดง แต่มาวันนี้”ผมกลัว”  ไม่เคยคิดมาก่อนเลยว่าวันหนึ่งจะได้มาร้องเพลงและทำร่วมกิจกรรมกับผู้พิการทางสติปัญญา “รู้สึกกลัว” กลัวในที่นี้หมายถึงกลัวคำพูดที่เราจะพูดออกไป กลัวใช้คำพูดไม่ถูกต้องแล้วส่งผลเสียต่อน้องๆที่พิการทางสติปัญญา กลัวว่าน้องๆจะไม่ฟัง กลัวน้องร้องไห้ กลัวน้องๆดื้อและซน เพราะไม่เคยสัมผัสกับคนพิการอย่างใกล้ชิดมาก่อน

พวกเราเริ่มร้องเพลงและเล่นกิจกรรมแบบที่เขาใช้สอนเด็กในกิจกรรมนันทนาการ ซึ่งคิดว่าเด็กทุกคนจะต้องผ่านเพลงประกอบท่าทางเหล่านี้มาก่อนเพื่อเป็นการสร้างความคุ้นเคยต่อกัน เด็กๆให้ความร่วมมือดีมาก กล้าแสดงออก รู้สึกว่าไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด เพียงแต่เราต้องปรับตัวเข้าหาน้องๆ ทดลองหาคำพูดที่ทำให้น้องๆมีส่วนร่วมกับเรามากที่สุด เช่นการปรบมือแสดงความยินดี หรือชมน้องๆเมื่อทำกิจกรรมตามที่เราต้องการสำเร็จ หลังจากนั้นก็เริ่มเล่นเพลงตามสมัยนิยม ปรากฏว่าน้องๆบางคนร้องและเต้นตามได้ด้วยอีก จึงรู้สึกประทับใจเป็นอย่างมาก

ประสบการณ์ครั้งนี้มีค่าสำหรับผมเป็นอย่างมาก และในอนาคตคาดว่าน่าจะรับมือกับน้องๆเหล่านี้ได้ดียิ่งขึ้น ผมเข้าใจคนพิการทางสติปัญญาเพิ่มมากขึ้น  และหากเป็นไปได้ก็จะช่วยสร้างความเข้าใจต่อสังคมให้เกิดการยอมรับคนพิการทางสติปัญญา เพื่อทุกคนจะได้อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข ขอขอบคุณศูนย์การศึกษาพิเศษอุดรธานี คุณครูพี่เลี้ยงที่ดูแลเด็กๆ และสมาคมกีฬาสเปเชียลโอลิมปิคประเทศไทยที่ให้การสนับสนุนกิจกรรมในครั้งนี้ หากมีโอกาสผมยินดีที่จะมาร่วมกิจกรรมเช่นนี้อีก

นักกีฬาอนุชน

โครงการนักกีฬาอนุชนสเปเชียลโอลิมปิคไทย

            โครงการนักกีฬาอนุชนสเปเชียลโอลิมปิคไทย เป็นกิจกรรมที่ออกแบบโดยสเปเชียลโอลิมปิค
เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กพิการรวมถึงเด็กทั่วไปที่มีอายุระหว่าง 2-7 ปี  ด้วยกิจกรรมการเล่น   
ที่ประกอบการเคลื่อนไหวด้วยกล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่ ในรูปแบบที่ส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันในสังคม  เพื่อการพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และสังคม  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม และการเตรียมความพร้อมของเด็กก่อนวัยเรียน ตลอดจนการมีส่วนร่วมของสมาชิกในครอบครัว

              นอกจากนั้น การเปิดพื้นที่ให้เด็กพิการและเด็กทั่วไปได้มีโอกาสร่วมกิจกรรมการเล่นในลักษณะ Inclusive Play นั้น  จะช่วยรณรงค์ให้เด็กไทยยุคใหม่ และครอบครัวของเขาได้เกิดทัศนคติที่ดี และมีความเข้าใจในการอยู่ร่วมกันในสังคมต่อไปอย่างยั่งยืน

              สเปเชียลโอลิมปิคไทย ได้รับการสนับสนุนจกมูลนิธิอิเกีย (IKEA Foundation) ระหว่างปี 2560 – 62 ในการขยายโครงการนักกีฬาอนุชนไปสู่ทุกจังหวัดของประเทศไทย

 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อเตรียมความพร้อม สร้างพื้นฐาน และพัฒนาความสามารถของเด็กก่อนวัยเรียน โดยใช้กีฬาอนุชนเป็นสื่อ
  2. ให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองและอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข
  3. เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจในการส่งเสริมการเรียนรู้ ทักษะและการดูแลสุขภาพของบุตรหลานที่บ้านตามหลักวิชาการ
  4. เพื่อพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถจัดกิจกรรมและเป็น
  5. วิทยากรกีฬาอนุชนในการพัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนได้
  6. เพื่อส่งเสริม สนับสนุน ให้องค์กรการศึกษา องค์การสาธารณสุข องค์กรท้องถิ่น องค์กรเอกชน และชุมชนต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการพัฒนาความสามารถของเด็กก่อนวัยเรียน

 

การแข่งขัน

การแข่งขันกีฬา

การแข่งขันกีฬาของสเปเชียลโอลิมปิคนั้นมีหลากหลายทุกะดับ ตั้งแต่การแข่งขันมหกรรมกีฬาระดับโลก (ฤดูร้อน และ ฤดูหนาว) ระดับทวีป และ ระดับชาติ รวมทั้งการแข่งขันในท้องถิ่น นอกจากมหกรรมกีฬาแล้ว ยังมีรายการแข่งขันชิงแชมป์เฉพาะแต่ละชนิดกีฬาอีกด้วย

สเปเชียลโอลิมปิคไทย จัดการแข่งขันระดับชาติ ระดับภูมิภาค ระดับกลุ่มจังหวัด และ ระดับสถาบัน (กีฬาสี) เพื่อเปิดโอกาสให้นักกีฬาสเปเชียลโอลิมปิคไทยได้มีส่วนร่วมมากที่สุด   โดยนักกีฬาที่เข้าแข่งขันุกคนสามารถพัฒนาตนเองสู่กรคัดเลือกเป็นู้แทนประเทศไทยในการแข่งขันมหกรรมกีฬาระดับโลก (ฤดูร้อน) และ ระดับภาคพื้นทวีปเอเชียแปซิฟิค อีกทั้งยังมีรายการแข่งขันนานาชาติในแถบอาเซี่ยนและลุ่มแม่น้ำโขง อีกด้วย

เพื่อให้นักกีฬาทุกคนมีความพร้อมในการแข่งขัน และป้องกันการเกิดการบาดเจ็บ สเปชียลโอลิมปิคกำหนดให้นักกีฬาที่เข้าแข่งขันจะต้องผ่านการฝึกซ้อมมาแล้วไม่ต่ำกว่า 8 สัปดาห์