ยุวชนจิตอาสา

     

 

         สวัสดีคะ ดิฉันชื่อ นาวสาวอารียา  สูงห้างหว้า  ชื่อเล่น ฟักแฟง  อายุ 21 ปี กำลังศึกษาอยู่ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 สาขาการศึกษาพิเศษและคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

          ดิฉันเป็นของบุคคลหนึ่ง ที่ตั้งแต่เกิดไม่เคยได้ยินเสียงใดๆเหมือนใครคนอื่น ดิฉันเป็นคนหูหนวกคะแต่ความพิการนั้นไม่เคยทำให้ดิฉันท้อแท้กับโชคชะตาชีวิตของตัวเอง แม้บางครั้งมันอาจมีข้อจำกัดบ้างมีความยากและลำบากบ้าง แต่ดิฉันก็มีความสุขกับชีวิตที่เป็นอยู่ และได้ใช้ชีวิตเฉกเช่นคนปกติในสังคม ต้องขอบคุณ คุณพ่อคุณแม่ ที่คอยดูแลเอาใจใส่จัดหาสถานศึกษาดีๆให้ดิฉันจบมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนโสตสุรินทร์ค่ะ และได้เลือกที่จะศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา โดยในตอนนั้นมหาวิทยาลัยที่ ดิฉันมองไว้ มี 2 ที่ คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี กับโคราชคะ แต่ตัดสินใจเลือกจริง ๆคือมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี พระท่านอาจารย์ที่นี่บอกว่า ราชภัฏอุบลฯ เรา มีทุนเรียนฟรีให้สำหรับเด็กพิเศษ ต้องขอบคุณท่านอาจารย์ทุกท่านที่ได้ให้โอกาสดีๆกับดิฉันคะ

ด้วยเพราะความเป็นคนหูหนวก ทำให้ไม่ได้ยินอะไรเลย ตัวดิฉันเองจึงต้องพยายามมากกว่าคนปกติ ต้องหาวิธีการและเทคนิคต่างๆที่จะทำให้ตัวเองเข้าใจและจดจำเนื้อหาที่เรียนได้ ถ้าถามว่ายากไหมก็ยากพอตัวค่ะแต่ก็ไม่เกินความสามารถถ้าเราตั้งใจที่จะทำมันจริงๆ และอีกหนึ่งกำลังใจที่สำคัญที่ทำให้ดิฉันมีกำลังใจในการสู้ต่อคือคุณพ่อคุณแม่ที่ดิฉันรักมากที่สุด ทุกครั้งที่นึก ถึง ว่าท่านรอดูความสำเร็จของดิฉันอยู่ มันก็ทำให้ดิฉันมีกำลังใจฮึดสู้ก้าวข้ามความเหนื่อยล้าและทำให้ดิฉันอดทนสู้ต่อไปได้ ขอบคุณคะ

พอมีโครงการอบรม Youth Activation หนูเลยตัดสินใจเข้าอบรมเพื่อจะได้สร้างโอกาสให้เด็กพิเศษได้มีโอกาศเหมือนพวกหนู การอบรมครั้งนี้ทำให้ได้มีความรู้เกี่ยวกับพิการทางสติปัญญามากขึ้นว่าไม่ควรดูถูกเขา แล้วถ้ามีกิจกรรมต่าง ๆเกี่ยวกับ Youth หนูก็จะเข้าอบรมช่วยกิจกรรมต่าง ๆเพราะได้ความรู้และได้ทำประโยชน์ให้สังคมด้วย

นายไชยวัฒน์ เต็มตาวงศ์ ชื่อเล่นอาร์ม

นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาดนตรีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

     

 

ผมทำงานร้องเพลงตามร้านอาหารเพื่อหาเงินเรียนด้วยตัวเอง ซึ่งเจอผู้ฟังหลายๆประเภท ไม่เคยกลัวที่จะขึ้นเวทีเพื่อทำการแสดง แต่มาวันนี้”ผมกลัว”  ไม่เคยคิดมาก่อนเลยว่าวันหนึ่งจะได้มาร้องเพลงและทำร่วมกิจกรรมกับผู้พิการทางสติปัญญา “รู้สึกกลัว” กลัวในที่นี้หมายถึงกลัวคำพูดที่เราจะพูดออกไป กลัวใช้คำพูดไม่ถูกต้องแล้วส่งผลเสียต่อน้องๆที่พิการทางสติปัญญา กลัวว่าน้องๆจะไม่ฟัง กลัวน้องร้องไห้ กลัวน้องๆดื้อและซน เพราะไม่เคยสัมผัสกับคนพิการอย่างใกล้ชิดมาก่อน

พวกเราเริ่มร้องเพลงและเล่นกิจกรรมแบบที่เขาใช้สอนเด็กในกิจกรรมนันทนาการ ซึ่งคิดว่าเด็กทุกคนจะต้องผ่านเพลงประกอบท่าทางเหล่านี้มาก่อนเพื่อเป็นการสร้างความคุ้นเคยต่อกัน เด็กๆให้ความร่วมมือดีมาก กล้าแสดงออก รู้สึกว่าไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด เพียงแต่เราต้องปรับตัวเข้าหาน้องๆ ทดลองหาคำพูดที่ทำให้น้องๆมีส่วนร่วมกับเรามากที่สุด เช่นการปรบมือแสดงความยินดี หรือชมน้องๆเมื่อทำกิจกรรมตามที่เราต้องการสำเร็จ หลังจากนั้นก็เริ่มเล่นเพลงตามสมัยนิยม ปรากฏว่าน้องๆบางคนร้องและเต้นตามได้ด้วยอีก จึงรู้สึกประทับใจเป็นอย่างมาก

ประสบการณ์ครั้งนี้มีค่าสำหรับผมเป็นอย่างมาก และในอนาคตคาดว่าน่าจะรับมือกับน้องๆเหล่านี้ได้ดียิ่งขึ้น ผมเข้าใจคนพิการทางสติปัญญาเพิ่มมากขึ้น  และหากเป็นไปได้ก็จะช่วยสร้างความเข้าใจต่อสังคมให้เกิดการยอมรับคนพิการทางสติปัญญา เพื่อทุกคนจะได้อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข ขอขอบคุณศูนย์การศึกษาพิเศษอุดรธานี คุณครูพี่เลี้ยงที่ดูแลเด็กๆ และสมาคมกีฬาสเปเชียลโอลิมปิคประเทศไทยที่ให้การสนับสนุนกิจกรรมในครั้งนี้ หากมีโอกาสผมยินดีที่จะมาร่วมกิจกรรมเช่นนี้อีก