กติกากีฬาว่ายน้ำ

กีฬาว่ายน้ำ
การแข่งขันกีฬาว่ายน้ำของสเปเชียลโอลิมปิค ให้เป็นไปตามกติกาว่ายน้ำของสเปเชียลโอลิมปิค ซึ่งได้จัดทำขึ้นบนพื้นฐานของกติกาว่ายน้ำสากลของสหพันธ์ว่ายน้ำนานาชาติ (FINA) โดยให้ปฎิบัติตามกติกาว่ายน้ำของสหพันธ์ฯ (FINA) ยกเว้นในกรณีที่ขัดกับกติกาของสเปเชียลโอลิมปิค ในกรณีเช่นนี้ขอให้ถือกติกาสเปเชียลโอลิมปิคเป็นเกณฑ์
นักกีฬาที่เป็นดาวน์ซินโดรมที่มีปัญหา Atlanta – Axial Instability จะไม่ได้รับอนุญาตให้แข่งขันรายการว่ายผีเสื้อ และการกระโดดลงน้ำด้วยศีรษะ
หมวด ก รายการแข่งขัน
การแข่งขันจะต้องจัดในสระว่ายน้ำมาตรฐานสากล (25 เมตร หรือ 50 เมตร) ได้แก่รายการ
- ว่ายฟรีสไตล์ 50 เมตร
- ว่ายฟรีสไตล์ 100 เมตร
- ว่ายฟรีสไตล์ 200 เมตร
- ว่ายฟรีสไตล์ 400 เมตร
- ว่ายฟรีสไตล์ 800 เมตร
- ว่ายฟรีสไตล์ 1,500 เมตร
- ว่ายกรรเชียง 50 เมตร
- ว่ายกรรเชียง 100 เมตร
- ว่ายกรรเชียง 200 เมตร
- ว่ายกบ 25 เมตร
- ว่ายกบ 50 เมตร
- ว่ายกบ 100 เมตร
- ว่ายกบ 200 เมตร
- ว่ายผีเสื้อ 25 เมตร
- ว่ายผีเสื้อ 50 เมตร
- ว่ายผีเสื้อ 100 เมตร
- ว่ายผีเสื้อ 200 เมตร
- ว่ายเดี่ยวผสม 100 เมตร
- ว่ายเดี่ยวผสม 200 เมตร
- ว่ายเดี่ยวผสม 400 เมตร
- ว่ายผลัดฟรีสไตล์ 4×25 เมตร
- ว่ายผลัดฟรีสไตล์ 4×50 เมตร
- ว่ายผลัดฟรีสไตล์ 4×100 เมตร
- ว่ายผลัดฟรีสไตล์ 4×200 เมตร
- ว่ายผลัดผสม 4×25 เมตร
- ว่ายผลัดผสม 4×50 เมตร
- ว่ายผลัดผสม 4×100 เมตร
- ว่ายผลัดฟรีสไตล์ยูนิฟายด์ 4×25 เมตร
- ว่ายผลัดฟรีสไตล์ยูนิฟายด์ 4×50 เมตร
- ว่ายผลัดฟรีสไตล์ยูนิฟายด์ 4×100 เมตร
- ว่ายผลัดฟรีสไตล์ยูนิฟายด์ 4×200 เมตร
- ว่ายผลัดผสมยูนิฟายด์ 4×25 เมตร
- ว่ายผลัดผสมยูนิฟายด์ 4×50 เมตร
- ว่ายผลัดผสมยูนิฟายด์ 4×100 เมตร
ต่อไปนี้เป็นรายการสำหรับนักกีฬาทักษะต่ำ
- ว่ายฟรีสไตล์ 25 เมตร
- ว่ายกรรเชียง 25 เมตร
- เดินในน้ำ 15 เมตร
- ลอยตัวในน้ำ 15 เมตร
- ลอยตัวในน้ำ 25 เมตร
- ว่ายพร้อมการช่วยเหลือ 10 เมตร
- ว่ายโดยปราศจากการช่วยเหลือ 15 เมตร
หมวด ข บุคลากร
- ไลฟ์การ์ด ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
- ผ่านการฝึกอบรม และได้รับการรับรองการช่วยชีวิตทางน้ำ (Lifesaving) ไม่เกิน 2 ปี
- ผ่านการฝึกอบรม และรับรองด้าน CPR ไม่เกิน 2 ปี
- ผ่านการฝึกอบรม และรับรองด้านปฐมพยาบาล ไม่เกิน 2 ปี
โดยเป็นการรับรองจากองค์กร สภากาชาด หรือ ชมรมช่วยชีวิตทางน้ำ หรือ เทียบเท่า ผู้ที่ปฎิบัติหน้าที่ ไลฟ์การ์ด จะไม่สามารถปฎิบัติงานด้านอื่นในขณะเดียวกัน
- หัวหน้าผู้ฝึกสอน
- ได้รับการรับรองเป็นผู้ฝึกสอนจากสเปเชียลโอลิมปิคไทย
- ได้รับการรับรองด้าน CPR และปฐมพยาบาล ไม่เกิน 2 ปี
- มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการช่วยชีวิตทางน้ำ
- ผู้อำนวยการการแข่งขัน (Meet Director)
ผู้อำนวยการการแข่งขันเป็นผู้รับผิดชอบ การดำเนินการภายในการจัดการแข่งขันทั้งหมด
- ให้การอบรมฝึกฝนบุคลากร / กรรมการจัดการแข่งขัน
- ตรวจสอบความเรียบร้อยเหมาะสมถูกต้อง ตามมาตรฐานของสถานที่อุปกรณ์
- จัดทำควบคุมการปฏิบัติงาน และคุณภาพของการทำงานทั้งระบบ
- วางแผนการดำเนินการในกรณีฉุกเฉินซึ่งระบุในหมวด ค.
- จัดสถานที่จัดการแข่งขันเพื่อเตรียมการในการรองรับในเรื่อง
– อุปกรณ์ช่วยชีวิต
– ขอบเขตของการใช้พื้นที่โดยบุคคลประเภทต่าง ๆ (การแบ่งโซน)
– ความสะอาด และคุณภาพของน้ำ
– สภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย ในการรักษาความปลอดภัย และช่วยชีวิต
– นักกีฬาพิเศษที่มีปัญหาด้านสุขภาพ โดยให้ไลฟ์การ์ดมีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่
โดยเฉพาะนักกีฬาพิเศษที่มีปัญหาเกี่ยวกับการชัก
– ข้อจำกัดในการแข่งขันของนักกีฬาดาวน์ซินโดรม ที่มีปัญหา Atlanta – Axial Instability โดย
ผู้อำนวยการการแข่งขันจะต้องศึกษากติกาทั่วไปของสเปเชียลโอลิมปิค ในเรื่องของข้อจำกัด
ดังกล่าว
- กรรมการผู้ตัดสิน (Referee, Time Judge)
กรรมการผู้ตัดสิน ได้แก่ หัวหน้าผู้ตัดสิน หัวหน้ากรรมการจับเวลา กรรมการดูฟาล์ว และกลับตัว รวมถึงผู้ปล่อยตัวจะต้องผ่านการรับรองในการปฏิบัติหน้าที่นั้น ๆ จากสมาคมกีฬา หรือ สหพันธ์กีฬาของประเทศ
หมวด ค มาตรการในด้านความปลอดภัย
การฝึกซ้อม และแข่งขันกีฬาสเปเชียลโอลิมปิค จะต้องดำเนินการภายใต้มาตรการรักษาความปลอดภัย ที่ดูแลความปลอดภัย และสุขภาพของนักกีฬาพิเศษ ผู้ฝึกสอน และอาสาสมัคร ดังต่อไปนี้
- ระเบียบทั่วไป
- มีไลฟ์การ์ดประจำการ 1 คน สำหรับนักว่ายน้ำที่อยู่ในสระทุก ๆ 25 คน
- หน้าที่รับผิดชอบของไลฟ์การ์ด คือ การรักษาความปลอดภัย ในกรณีที่ไลฟ์การ์ดต้องพักการปฏิบัติงานช่วงเวลาหนึ่ง และในเวลานั้นไม่มีผู้ใดปฎิบัติงานแทน จะต้องให้ทำการหยุดการฝึกซ้อม / แข่งขันในช่วงระยะเวลานั้น ๆ ที่ไม่มีไลฟ์การ์ดประจำการ
- ผู้อำนวยการแข่งขันจะต้องกำหนดแผนการ เพื่อใช้ในยามฉุกเฉินก่อนเริ่มงาน และตรวจสอบว่ามีผู้ฝึกสอนในจำนวนที่เหมาะสมพอเพียงสำหรับการปฎิบัติงานหรือไม่
- ประวัติสุขภาพของนักกีฬาพิเศษ จะต้องมีพร้อม และได้มีการตรวจสอบข้อมูลของนักกีฬาพิเศษ เพื่อรับทราบความเสี่ยงของนักกีฬาบางคน และเตรียมการรองรับไว้ล่วงหน้า
- ความลึกของสระจะต้องแสดงให้เห็นอย่างชัดเจน
- ความลึกที่จุดกระโดดจากแท่นกระโดด จะต้องไม่ต่ำกว่า 52 เมตร (5 ฟุต)
อนุญาตให้นักกีฬากระโดดจากขอบสระได้กรณีที่สระมีความลึก ไม่ต่ำกว่า 1.22 เมตร (4 ฟุต)
ไม่อนุญาตให้กระโดดจากสปริงบอร์ด ยกเว้นในกรณีที่มีความลึกไม่ต่ำกว่า 2.74 เมตร (9 ฟุต)
- ต้องกั้นเขตน้ำลึก และน้ำตื้นด้วยลู่ ในกรณีที่ไม่ได้แข่งขันว่ายน้ำ
- ไม่อนุญาตให้นักกีฬาพิเศษผู้ใดใช้สระว่ายน้ำจนกว่าได้รับการตรวจสอบ และยอมรับจากผู้อำนวยการแข่งขัน
- นักว่ายน้ำดาวน์ซินโดรม ซึ่งได้พบว่ามี Atlanta – Axial Instability จะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าแข่งขันรายการว่ายผีเสื้อ หรือ กระโดดลงน้ำด้วยศีรษะ
- แผนการในยามฉุกเฉิน (Emergency Plan)
กำหนดให้มีแผนการในยามฉุกเฉิน เพื่อบังคับใช้ในกรณีจำเป็น ก่อนที่นักกีฬาใด ๆ จะลงไปในสระว่ายน้ำ แผนการนี้จะต้องแสดงรายละเอียดอย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร และมีการประชุมรับทราบในกลุ่มของผู้ปฏิบัติงานอย่างเรียบร้อย ก่อนเริ่มงาน แผนการดังกล่าวจะต้องครอบคลุมเรื่อง
2.1 การติดต่อขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ จากนอกบริเวณสระว่ายน้ำ ในกรณีที่ไม่มีแพทย์พยาบาล
ประจำที่สระว่ายน้ำ
2.2 ตำแหน่งจุดประจำการ และพื้นที่รับผิดชอบของไลฟ์การ์ดแต่ละคน
2.3 ระบบในการรับข้อมูลพยากรณ์อากาศ โดยเฉพาะในกรณีที่เป็นสระอยู่ในที่แจ้ง
2.4 โครงสร้างการปฎิบัติงาน และขั้นตอนของการบังคับบัญชา รวมถึงการกำหนดหน้าที่ของผู้ที่จะต้อง
แถลงข่าวให้กับสื่อมวลชน เมื่อเกิดเหตุการณ์ร้ายแรง
2.5 มาตรการอื่น ๆ ที่ต้องเป็นไปตามแม่บทกฎหมาย
- คุณสมบัติของบุคลากร
การจัดกิจกรรมกีฬาว่ายน้ำสเปเชียลโอลิมปิคทุกรายการ จะต้องมีบุคลากรปฏิบัติงานในจำนวนที่เหมาะสม และมีคุณสมบัติถูกต้องกับหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้
3.1 กิจกรรมนันทนาการในน้ำ
ก. มีจำนวนไลฟ์การ์ดดูแลความปลอดภัย 1 คนต่อจำนวนนักกีฬาพิเศษในน้ำ 25 คน
3.2 การฝึกซ้อมว่ายน้ำ
ก. มีจำนวนไลฟ์การ์ดในสัดส่วน 1 ต่อ 25
ข. มีผู้ฝึกสอน (ควรได้รับการรับรองจากสเปเชียลโอลิมปิคไทย) ที่ให้การดูแล และสอนนักกีฬาพิเศษ
แต่ละคน
3.3 การแข่งขันว่ายน้ำ
ก. มีจำนวนไลฟ์การ์ดในสัดส่วน 1 ต่อ 25
ข. มีผู้ฝึกสอน 1 คน ที่สามารถให้การดูแลนักกีฬาพิเศษที่มีความเสี่ยงทุก ๆ 2 คน (ความเสี่ยงในการ
ชัก หรือ อาการอื่น ๆ เกี่ยวกับสุขภาพ)
ค. มีผู้ฝึกสอน 1 คนที่สามารถให้การดูแลนักกระโดดน้ำพิเศษ 10 คน
หมวด ง ระเบียบทั่วไป
กติกาด้านเทคนิคกีฬาว่ายน้ำ จะต้องเป็นไปตามกติกาสหพันธ์ว่ายน้ำนานาชาติ (FINA) ยกเว้นในกรณีข้างล่างนี้ ที่ให้ปฏิบัติตามกติกาสเปเชียลโอลิมปิคที่กำหนดไว้
- ทุกรายการ
- ผู้ตัดสินชี้ขาดประจำการแข่งขัน (Meet Referee) ด้วยการยินยอม และร่วมมือจากผู้อำนวยการแข่งขัน (Meet Director) สามารถปรับกติกาเป็นกรณี เพื่อความปลอดภัย และสุขภาพของนักกีฬา ผู้ตัดสินชี้ขาด สามารถหยุด หรือ ยับยั้งการแข่งขันได้ในทุกเวลา เพื่อดำเนินการในด้านการรักษาความปลอดภัย และจะเป็นผู้ตัดสินการประท้วงการแข่งขันที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ดังกล่าว
- ผู้ตัดสินชี้ขาด สามารถปรับกติกาเทคนิคเพื่อรองรับความพิการ หรือ ข้อจำกัดของนักกีฬา ซึ่งจะต้องแถลงการณ์ปรับเปลี่ยนกติกานั้น ๆ ให้ทุกฝ่ายรับทราบก่อนรอบชิงชนะเลิศ โดยการปรับกติกาจะต้องไม่ให้คู่ต่อสู้เกิดการเสียเปรียบ การตีความเรื่องเทคนิคสโตร์คจะต้องพิจารณาในเรื่องของการเคลื่อนไหวของแขน และขา ดังนั้น กรรมการดูสโตร์ค (Stroke Judge) จะต้องพิจารณาตัดสินการจับฟาล์วสโตร์ค จากวิธีที่แขนและขาของนักกีฬาผู้นั้นเคลื่อนไหว
- ผู้อำนวยการแข่งขันจะเป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุด ในการควบคุมกรรมการผู้ตัดสิน การกำหนดความรับผิดชอบของกรรมการทุกฝ่าย และชี้แจงอบรมกรรมการในระเบียบของกีฬาสเปเชียลโอลิมปิค ที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขัน ผู้อำนวยการแข่งขันจะเป็นผู้ควบคุมมาตรฐานของการจัดการแข่งขัน ซึ่งรวมถึงการปฏิบัติตามระเบียบที่กำหนดโดย FINA และสเปเชียลโอลิมปิคอย่างเคร่งครัด โดยจะเป็น ผู้ตัดสินชี้ขาดในกรณีใด ๆ ที่อยู่นอกเหนือระเบียบข้อบังคับที่ระบุไว้
- อนุญาตให้นักว่ายน้ำใช้เท้าแตะพื้น หรือ ยืนบนพื้นสระได้ ในขณะที่ว่ายท่าฟรีสไตล์ และขณะที่ว่ายท่าฟรีสไตล์ในรายการเดี่ยวผสม แต่จะไม่อนุญาตให้นักว่ายน้ำเดินโดยเด็ดขาด
- อนุญาตให้นักว่ายน้ำยืนบนพื้นสระได้เฉพาะในกรณีที่พัก หากนักว่ายน้ำเดิน หรือ กระโดดจะถือว่าฟาล์ว
- อนุญาตให้กรรมการช่วยนักว่ายน้ำ ให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ณ จุดออกสตาร์ต
- ไม่อนุญาตให้นักว่ายน้ำสวมใส่ หรือ ใช้อุปกรณ์ทุ่นแรง หรือ เครื่องมือในการเพิ่มความเร็วใด ๆ (ยกเว้นทุ่นลอยตัวสำหรับนักกีฬาทักษะต่ำ ในรายการลอยตัว) เช่น ตีนกบ / ฟิน เป็นต้น อนุญาตให้นักว่ายน้ำสวมแว่นตากันน้ำได้
- อนุญาตให้ช่วยเหลือนักว่ายน้ำในน้ำได้ ถ้าได้รับการขอร้อง
- อุปกรณ์
- อนุญาตให้ใช้การส่งสัญญาณปล่อยตัวด้วย นกหวีด หวูด (Horn) หรือ ปืน นักว่ายน้ำที่บกพร่องทางการได้ยินเสียง จะต้องได้รับการส่งสัญญาณมือจากผู้ปล่อยตัว หรือ การสัมผัสจากกรรมการในลู่ว่าย หรือ ใช้สัญญาณแสงไฟ (Strobe Light) ในกรณีนี้
- ลู่ตัดคลื่น
- นาฬิกาจับเวลา กำหนดให้ใช้อย่างน้อยลู่ละ 1 เรือน
- ธงกรรเชียง 2 ด้าน
- เชือกฟาล์วด้านปล่อยตัว
- สำหรับรายการประเภทลอยตัว (สำหรับนักกีฬาทักษะต่ำ) อุปกรณ์ลอยตัวต้องอยู่รอบ ๆ ลำตัวของนักว่ายน้ำเพื่อพยุงให้ศีรษะใบหน้าลอยอยู่เหนือน้ำ แต่จะไม่อนุญาตให้นักว่ายน้ำจับอุปกรณ์ใด ๆ ไม่อนุญาตให้ใช้ Kickboard หรือ ห่วงยางรัดแขน
- รายการว่ายผลัด
- แต่ละทีมประกอบด้วยผู้ว่าย 4 คน
- นักว่ายน้ำแต่ละคนต้องว่ายระยะทาง 1 ใน 4 ของระยะทางทั้งหมด ไม่อนุญาตให้นักว่ายน้ำคนใด ว่ายในระยะทางที่แตกต่างจากสมาชิกอื่นในทีม
- นักว่ายน้ำทุกคนในทีมต้องเป็นผู้แทนของสถาบัน หรือ สโมสรสังกัดเดียวกัน
- ทีมว่ายผลัดใด ๆ ที่มีสมาชิกชาย และหญิง รวมกันจะต้องแข่งขันในรายการเพศชาย
- สมาชิกที่จบการว่ายแล้วจะต้องขึ้นจากสระให้เร็วที่สุดหลังการว่าย
- รายการลอยตัว (Floation) และเดินในน้ำ (Walking)
เป็นรายการที่เปิดโอกาสให้นักกีฬาทักษะต่ำได้มีส่วนร่วมในการแข่งขัน
- รูปแบบการจัด
– มีผู้ดูแล 1 คนต่อนักว่ายน้ำพิเศษ 1 คน
– กำหนดจุดเริ่มต้นในน้ำที่ระบุระยะทางถึงเส้นชัยอย่างชัดเจน
– สำหรับรายการเดิน สระต้องไม่ลึกเกิน 1 เมตร (3.5 ฟุต)
– ควรมีกรรมการผู้ตัดสินที่ได้รับการรับรองจากทางการ
- กติกา
– ในรายการเดินในน้ำ เท้าของนักว่ายน้ำจะต้องแตะพื้นสระอย่างน้อย 1 ข้างตลอดเวลา
– อุปกรณ์ / ทุ่นช่วยในการลอยตัวต้องเป็นไปตามที่ระบุ (ดูข้อ 2.6)
- รายการว่ายน้ำโดยปราศจากการช่วยเหลือ (Unassisted Swim)
เป็นรายการที่เปิดโอกาสให้นักกีฬาทักษะต่ำได้มีส่วนร่วมในการแข่งขัน
– นักว่ายน้ำต้องว่ายให้ครบระยะทางที่ระบุ / สมัคร โดยอนุญาตให้ผู้ดูแล หรือ ผู้ฝึกสอนยืนให้กำลังใจ
จากข้างนอกลู่ว่ายของนักว่ายน้ำผู้นั้น แต่ไม่อนุญาตให้สัมผัสตัวนักกีฬา หรือ ให้การช่วยเหลือใด ๆ
- รายการว่ายน้ำพร้อมการช่วยเหลือ (Assisted Swim)
เป็นรายการที่เปิดโอกาสให้นักกีฬาทักษะต่ำได้มีส่วนร่วมในการแข่งขัน
– นักว่ายน้ำมีผู้ดูแล หรือ ผู้ฝึกสอนประจำตัว ผู้ช่วยสามารถสัมผัส และชี้นำทิศทางการว่ายน้ำให้กับ
นักกีฬา แต่ไม่อนุญาตให้พยุงตัว หรือ ผลัก หรือ ดึงนักว่ายน้ำเพื่อเพิ่มความเร็ว นักว่ายน้ำสามารถใช้
อุปกรณ์ช่วยการลอยน้ำตามที่ระบุในข้อ 2.6 ผู้ช่วยอาจอยู่ในน้ำ หรือ บนบกก็ได้
- กีฬายูนิฟายด์
เฉพาะรายการว่ายผลัดเท่านั้น
– ในทีมผลัด 1 ทีมจะประกอบด้วยนักกีฬาพิเศษ 2 คน และคู่ยูนิฟายด์ 2 คน
– ในทีมผลัดยูนิฟายด์ นักกีฬาพิเศษ และคู่ยูนิฟายด์จะว่ายในลำดับใดก็ได้
แปลจาก 2004 – 2007 Revised Special Olympics Summer Sports Rule : AQUATICS (as of March 2006)